มารู้จักกับข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับต้นทานตะวัน
ทานตะวัน (Sunflowers)
ทานตะวันเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญทางเศรษฐกิจรองจากถั่วเหลือง
และปาล์มน้ำมัน ทานตะวันค่อนข้างทนแล้งได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับพืชไร่ชนิดอื่น
เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง และถั่วเขียว เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
ส่วนกากที่ได้หลังจากสกัดน้ำมันแล้วมีโปรตีน 40-50 เปอร์เซ็นต์
น้ำมันทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์
สูงกว่าถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม และมีสาร antioxidants กันหืนได้ดีสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น
เนื่องจากน้ำมันทานตะวันมีคุณค่าสูง
จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อการบริโภค
และใช้ในอุตสาหกรรมเช่น น้ำมันชักเงา น้ำมันหล่อลื่น สีทาบ้าน
ส่วนลำต้นทานตะวันสามารถนำไปทำกระดาษคุณภาพดี
ปัญหาของพืช
ข้อจำกัด และโอกาส
• ขาดพันธุ์คุณภาพดีของทางราชการ แม้ว่าหลายหน่วยงานได้ทำการวิจัย ทานตะวันมานานกว่า 30 ปี แต่ยังไม่มีพันธุ์ทานตะวันที่จะส่งเสริมให้ เกษตรกรปลูก
• ราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างสูงประมาณ 180-240 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็น 20-25 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการผลิต
• การปลูกทานตะวันในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
• ผลผลิตทานตะวันค่อนข้างต่ำ
• ขาดพันธุ์คุณภาพดีของทางราชการ แม้ว่าหลายหน่วยงานได้ทำการวิจัย ทานตะวันมานานกว่า 30 ปี แต่ยังไม่มีพันธุ์ทานตะวันที่จะส่งเสริมให้ เกษตรกรปลูก
• ราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างสูงประมาณ 180-240 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็น 20-25 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการผลิต
• การปลูกทานตะวันในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
• ผลผลิตทานตะวันค่อนข้างต่ำ
การเลือกพันธุ์
• ผลผลิตสูง คุณภาพดี และตรงตามความต้องการของตลาด
• ต้านทานต่อศัตรูพืช
• เจริญเติบโตดี เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศที่ปลูก
• ผลผลิตสูง คุณภาพดี และตรงตามความต้องการของตลาด
• ต้านทานต่อศัตรูพืช
• เจริญเติบโตดี เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศที่ปลูก
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
• พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง มีความลาดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์
• ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร
• ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว หรือดินเหนียว มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี
• ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรีย์วัตถุไม่ต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์
• ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 6.0-7.5
• อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 18-35 องศาเซลเซียส
• ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 800-1,200 มิลลิเมตรตลอดปี
• พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง มีความลาดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์
• ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร
• ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว หรือดินเหนียว มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี
• ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรีย์วัตถุไม่ต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์
• ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 6.0-7.5
• อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 18-35 องศาเซลเซียส
• ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 800-1,200 มิลลิเมตรตลอดปี
ฤดูปลูก
• ในสภาพไร่ ปลูกในช่วงปลายฤดูฝน เดือนกันยายน-กลางเดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนตกกระจายสม่ำเสมอตลอด
• ในสภาพนา ปลูกในช่วงฤดูแล้ง เดือนตุลาคม-ธันวาคม
• ในสภาพไร่ที่มีน้ำชลประทาน สามารถปลูกในช่วงดังกล่าวได้เช่นกัน
• ในสภาพไร่ ปลูกในช่วงปลายฤดูฝน เดือนกันยายน-กลางเดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนตกกระจายสม่ำเสมอตลอด
• ในสภาพนา ปลูกในช่วงฤดูแล้ง เดือนตุลาคม-ธันวาคม
• ในสภาพไร่ที่มีน้ำชลประทาน สามารถปลูกในช่วงดังกล่าวได้เช่นกัน
การเตรียมดิน
• ในสภาพไร่ ไถดะลึก 30-35 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7 วัน แล้วไถพรวนดินด้วยผาล 7 อีกครั้งหนึ่ง
• ในสภาพนา ไถดะลึก 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7 วัน แล้วไถพรวนดินด้วยผาล 7 อีกครั้ง ยกร่องปลูก อาจเป็นร่องสำหรับ ปลูกแถวเดียว หรือแถวคู่ โดยยกร่องกว้าง 1.5 เมตร
วิธีการปลูก
ระยะปลูก 75 x 25 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2 เมล็ดต่อหลุม ลึก 4-5 เซนติเมตร แล้วกลบหลุม ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุมหลังงอกแล้ว 10 วัน รวมประมาณ 8,533 ต้นต่อไร่
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
• ดินร่วนทราย หรือดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อมปลูก (รองก้นร่อง หรือก้นหลุม) 25 กิโลกรัมและอีกครึ่งหนึ่งให้ครั้งที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก หรือสูตร 16-8-8 อัตรา 60-70 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งครึ่ง ครึ่งแรกใส่รองก้นร่องพร้อมปลูก และครั้งที่ 2 โรยข้างแถวแล้วพรวนกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก
• ดินร่วนสีน้ำตาล ให้ปุ๋ยสูตร 20 - 20 - 0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 16-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูก และที่อายุ 20-25 วันหลังงอก ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ
• ดินเหนียวสีดำ ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ พร้อมปลูก รองก้นหลุม 25 กิโลกรัม และอีกครึ่งหนึ่ง ให้ครั้งที่ 2 โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังปลูก
• ดินเหนียวสีแดง ให้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อมปลูก (รองก้นร่อง หรือก้นหลุม) 25 กิโลกรัม และให้ครั้งที่สองอีก 25 กิโลกรัมเมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก
การให้น้ำ
• ในสภาพนา หรือในสภาพไร่ การปลูกในช่วงฤดูแล้ง โดยการให้น้ำ ชลประทาน ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในปริมาณ 30-35 มิลลิเมตรต่อครั้ง ทุก ๆ 10-14 วัน และหยุดให้น้ำเมื่อสิ้นสุดระยะสร้างเมล็ด หรือประมาณ 20-25 วันหลังดอกบานแล้ว รวม 6-7 ครั้งตลอดฤดูปลูก
• ในกรณีที่ให้น้ำตามร่องระหว่างแถวปลูก ควรให้น้ำสูงระดับ 2 ใน 3 ของระดับความลึกของร่อง หลังให้น้ำแล้ว ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมแปลงปลูก เกิน 24 ชั่วโมง
• ในสภาพไร่ ไถดะลึก 30-35 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7 วัน แล้วไถพรวนดินด้วยผาล 7 อีกครั้งหนึ่ง
• ในสภาพนา ไถดะลึก 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7 วัน แล้วไถพรวนดินด้วยผาล 7 อีกครั้ง ยกร่องปลูก อาจเป็นร่องสำหรับ ปลูกแถวเดียว หรือแถวคู่ โดยยกร่องกว้าง 1.5 เมตร
วิธีการปลูก
ระยะปลูก 75 x 25 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2 เมล็ดต่อหลุม ลึก 4-5 เซนติเมตร แล้วกลบหลุม ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุมหลังงอกแล้ว 10 วัน รวมประมาณ 8,533 ต้นต่อไร่
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
• ดินร่วนทราย หรือดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อมปลูก (รองก้นร่อง หรือก้นหลุม) 25 กิโลกรัมและอีกครึ่งหนึ่งให้ครั้งที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก หรือสูตร 16-8-8 อัตรา 60-70 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งครึ่ง ครึ่งแรกใส่รองก้นร่องพร้อมปลูก และครั้งที่ 2 โรยข้างแถวแล้วพรวนกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก
• ดินร่วนสีน้ำตาล ให้ปุ๋ยสูตร 20 - 20 - 0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 16-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูก และที่อายุ 20-25 วันหลังงอก ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ
• ดินเหนียวสีดำ ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ พร้อมปลูก รองก้นหลุม 25 กิโลกรัม และอีกครึ่งหนึ่ง ให้ครั้งที่ 2 โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังปลูก
• ดินเหนียวสีแดง ให้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อมปลูก (รองก้นร่อง หรือก้นหลุม) 25 กิโลกรัม และให้ครั้งที่สองอีก 25 กิโลกรัมเมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก
การให้น้ำ
• ในสภาพนา หรือในสภาพไร่ การปลูกในช่วงฤดูแล้ง โดยการให้น้ำ ชลประทาน ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในปริมาณ 30-35 มิลลิเมตรต่อครั้ง ทุก ๆ 10-14 วัน และหยุดให้น้ำเมื่อสิ้นสุดระยะสร้างเมล็ด หรือประมาณ 20-25 วันหลังดอกบานแล้ว รวม 6-7 ครั้งตลอดฤดูปลูก
• ในกรณีที่ให้น้ำตามร่องระหว่างแถวปลูก ควรให้น้ำสูงระดับ 2 ใน 3 ของระดับความลึกของร่อง หลังให้น้ำแล้ว ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมแปลงปลูก เกิน 24 ชั่วโมง
โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
โรคใบจุดหรือใบไหม้
เกิดอาการใบจุดเล็กสีน้ำตาลมีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล จุดที่ขยายใหญ่มี รูปร่างไม่แน่นอน และทำให้เกิดใบไหม้ ต่อมาแผลจุดจะแพร่กระจาย ไปยังทุกส่วนของต้นทานตะวันที่อยู่เหนือพื้นดิน ตั้งแต่ใบ ก้านใบ ลำต้น กลีบเลี้ยง กลีบดอก และจานดอก เชื้อเข้าทำลายจากส่วนต่าง ๆ ของต้นทานตะวันแล้วแพร่กระจายขึ้นสู่ยอด ทำให้ต้นทานตะวันไหม้ แห้ง และแก่ก่อนกำหนด จานดอกเล็ก เมล็ดลีบ ผลผลิตต่ำ ควรกำจัดซากพืชที่ เป็นโรคด้วยการเผาทำลาย หรือนำออกจากแปลง
โรคใบจุดหรือใบไหม้
เกิดอาการใบจุดเล็กสีน้ำตาลมีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล จุดที่ขยายใหญ่มี รูปร่างไม่แน่นอน และทำให้เกิดใบไหม้ ต่อมาแผลจุดจะแพร่กระจาย ไปยังทุกส่วนของต้นทานตะวันที่อยู่เหนือพื้นดิน ตั้งแต่ใบ ก้านใบ ลำต้น กลีบเลี้ยง กลีบดอก และจานดอก เชื้อเข้าทำลายจากส่วนต่าง ๆ ของต้นทานตะวันแล้วแพร่กระจายขึ้นสู่ยอด ทำให้ต้นทานตะวันไหม้ แห้ง และแก่ก่อนกำหนด จานดอกเล็ก เมล็ดลีบ ผลผลิตต่ำ ควรกำจัดซากพืชที่ เป็นโรคด้วยการเผาทำลาย หรือนำออกจากแปลง
โรคเน่าดำหรือชาโคลรอท
ต้นทานตะวันที่มีการติดเชื้อจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ ใบเหี่ยวลู่ลงแห้งติดคาต้น ลำต้นส่วนที่ติดผิวดินเกิดแผลสีน้ำตาลดำลุกลามจากโคนต้นไปตามส่วนต่าง ๆ ของลำต้นและราก เมื่อผ่าดูภายในจะพบฝุ่นผงเมล็ดกลมเล็กสีดำหรือเทาดำกระจายอยู่ในเนื้อเยื่อพืชทั่วทุกส่วนและปิดกั้นขวางทางลำเลียงน้ำและอาหาร ทำให้ต้นทานตะวันเหี่ยวแห้งตายควรถอนและเผาทำลายต้น ทานตะวันที่เป็นโรคและไม่ควรปล่อยให้ต้นทานตะวันขาดน้ำรุนแรงในช่วงที่อากาศ ร้อนจัดและความชื้นในดินต่ำ
ต้นทานตะวันที่มีการติดเชื้อจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ ใบเหี่ยวลู่ลงแห้งติดคาต้น ลำต้นส่วนที่ติดผิวดินเกิดแผลสีน้ำตาลดำลุกลามจากโคนต้นไปตามส่วนต่าง ๆ ของลำต้นและราก เมื่อผ่าดูภายในจะพบฝุ่นผงเมล็ดกลมเล็กสีดำหรือเทาดำกระจายอยู่ในเนื้อเยื่อพืชทั่วทุกส่วนและปิดกั้นขวางทางลำเลียงน้ำและอาหาร ทำให้ต้นทานตะวันเหี่ยวแห้งตายควรถอนและเผาทำลายต้น ทานตะวันที่เป็นโรคและไม่ควรปล่อยให้ต้นทานตะวันขาดน้ำรุนแรงในช่วงที่อากาศ ร้อนจัดและความชื้นในดินต่ำ
โรคใบหงิก
ใบหงิกงอเป็นรูปถ้วยหงายตั้งแต่ใบยอดลงมาจนถึงกลางต้น ด้านล่างใบจะพบลักษณะของเส้นกลางใบและเส้นแขนงโป่งพองจนเห็นได้ชัด บริเวณเนื้อใบจะมีเส้นใบฝอยสีเขียวเข้มกระจายทั่วไป ทำให้ใบหดย่น ต้นแคระแกร็นจนไม่สามารถให้ดอก ในกรณีที่ให้ดอก ดอกอาจมีรูปร่างผิดปกติเมื่อพบทานตะวันที่เป็นโรค ควรถอนออกจากแปลงปลูกและนำไปทำลาย และควบคุมการแพร่ระบาดของแมลงปากดูด ได้แก่ แมลงหวี่ขาว
ใบหงิกงอเป็นรูปถ้วยหงายตั้งแต่ใบยอดลงมาจนถึงกลางต้น ด้านล่างใบจะพบลักษณะของเส้นกลางใบและเส้นแขนงโป่งพองจนเห็นได้ชัด บริเวณเนื้อใบจะมีเส้นใบฝอยสีเขียวเข้มกระจายทั่วไป ทำให้ใบหดย่น ต้นแคระแกร็นจนไม่สามารถให้ดอก ในกรณีที่ให้ดอก ดอกอาจมีรูปร่างผิดปกติเมื่อพบทานตะวันที่เป็นโรค ควรถอนออกจากแปลงปลูกและนำไปทำลาย และควบคุมการแพร่ระบาดของแมลงปากดูด ได้แก่ แมลงหวี่ขาว
การป้องกันกำจัดวัชพืช
• เก็บเศษซากวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลง ก่อนปลูกทานตะวัน
• กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน หรือเครื่องจักรกลเมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วัน คลุมดินด้วยเศษซากพืชหรือฟางข้าวทันทีหลังปลูก
• ในกรณีที่การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจเลือกใช้วิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช
• เก็บเศษซากวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลง ก่อนปลูกทานตะวัน
• กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน หรือเครื่องจักรกลเมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วัน คลุมดินด้วยเศษซากพืชหรือฟางข้าวทันทีหลังปลูก
• ในกรณีที่การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจเลือกใช้วิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช
ปริมาณกรดไขมันในน้ำมันพืชที่สำคัญ
รายการ
|
กรดไขมันไม่อิ่มตัว
|
กรมไขมันอิ่มตัว
|
กรดลิโนเลอิค
|
น้ำมันดอกคำฝอย
น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา น้ำมันเมล็ดฝ้าย (นุ่น) น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันปาล์ม |
87
84 83 80 80 80 71 76 49 |
8
10 12 15 16 14 25 18 45 |
72
53 63 52 37 42 50 29 8 |
การศึกษาโครงสร้างภายนอกและภายในของต้อนทานตะวัน
( Sunflower )
1.
โครงสร้างภายนอกและภายในของราก
1.1
โครงสร้างภายนอกรากของต้นทานตะวัน
ภาพที่ 1
แสดงลักษณะภายนอกรากของต้นทานตะวัน
จากภาพที่ 1 รากของทานตะวันจะประกอบไปด้วยรากแก้ว (Tap
root) และรากแขนง (lateral
root )
รากมีหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ
1. ดูด ( absorption
) น้ำและแร่ธาตุที่ละลายน้ำจากดินเข้าไปในลำต้น
2. ลำเลียง
( conduction ) น้ำและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของลำต้น
3. ยึด ( anchorage
) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน
4. แหล่งสร้างฮอร์โมน
( producing hormones ) รากเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตฮอร์โมนพืชหลาย
ชนิด เช่น ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน
ซึ่งจะถูกลำเลียงไปใช้เพื่อการเจริญพัฒนาของส่วนลำต้น ส่วนยอด และส่วนอื่นๆของพืช
นอกจาก
1.2 โครงสร้างภายในรากของต้นทานตะวัน
ภาพที่ 2 แสดงลักษณะภายในรากของต้นทานตะวัน
จากภาพที่ 2 โครงสร้างภายในของราก จากการตัดตามขวางรากทานตะวัน จะเห็นบริเวณหรือชั้นต่างๆ 3 ชั้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.
เอพิเดอร์มิส (Epidermis)
อยู่บริเวณชั้นนอกสุด
โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยเซลล์ผิว
2.
คอร์เทกซ์ (Cortex) เป็นบริเวณที่ประกอบไปด้วยเซลล์หลายแถว
อยู่ระหว่างเอเพิเดอร์มิส และสตีล
3.
พาเรงคิมา
(Parenchyma) เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว
ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต พบได้แทบทุกส่วนของอวัยวะพืช เช่น ใน cortex
หรือ pith ของลำต้นและรากส่วนที่อ่อนนุ่ม
สามารถอมน้ำได้มาก และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวกับการลำเลียงทั้ง xylem
และ phloem ในระยะการเจริญขั้นแรกของพืชเนื้อเยื่อ
parenchyma มีกำเนิดจากกลุ่มของ ground meristem ส่วน parenchyma ที่อยู่ในกลุ่มท่อลำเลียงเจริญมาจาก
procambium รูปร่างค่อนข้างกลม หรือหลายเหลี่ยม
ทำให้มีช่องว่างระหว่างเซลล์ (intercellular space) เกิดขึ้นตามมุมที่เซลล์แตะกัน
4.
โฟลเอ็ม (โฟฺล-) (phloem) เป็นกลุ่มที่ลำเลียงสารอาหารที่สังเคราะห์ขึ้นที่ใบไปยังส่วนต่างๆของพืชจนถึงราก เซลล์ที่สำคัญมี 2
ชนิดคือ ซีฟทิวบ์ เมมเบอร์ (sieve
tube member) เป็นเซลล์ที่เป็นแท่งยาว ยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่มีนิวเคลียส หัวและท้ายเป็นรูพรุน
เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร และ คอมพาเนียน เซลล์ (companion
cell) เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส อยู่ใกล้ซีฟทิวบ์
เมมเบอร์และคอยควบคุมการทำงานของซีฟทิวบ์ เมมเบอร์
5.
เพริไซเคิล (Pericycle) ประกอบด้วยเซลล์
พาเรงคิมา เป็นส่วนใหญ่ เซลล์เรียงตัวแถวเดียว แต่อาจมีมากกว่าแถวเดียวก็ได้
ชั้นนี้อยู่ด้านนอกสุดของสตีล เพริไซเคิล พบเฉพาะในรากเท่านั้น
และเห็นชัดเจนในรากพืชใบเลี้ยงคู่เพริไซเคิล เป็นส่วนที่ให้กำเนิดรากแขนง (Secondary
root) ที่แตกออกทางด้านข้าง(Lateral root)
6.
ไซเล็ม (Xylem)
ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำขึ้นสู่ลำต้นไซเลมประกอบด้วยเวสเซล เทรคีด
เซลล์พาเรงคิมาและอาจมีไฟเบอร์ เวสเซลซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวเป็นเซลล์ที่"ไม่มีชีวิตต้นไม้ที่แก่แล้วไซเลมจะตายไปเวสเซลจะเป็นส่วนตรงกลางของลำต้นและเป็นส่วนแก่นไม้
2. โครงสร้างภายนอกและภายในลำต้นของต้นทานตะวัน
2.1 โครงสร้างภายนอกลำต้นของต้นทานตะวัน
ภาพที่ 3 แสดงลักษณะภายนอกลำต้นของต้นทานตะวัน
จากภาพที่ 3 โครงสร้างลักษณะภายนอกของลำต้นทานตะวัน
ทานตะวันจะมีลำต้นเป็นสีเขียว และจะประกอบไปด้วยใบ จะไม่มีกิ่ง ลำต้นจะไม่ใหญ่แต่สูง สามารถสูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร
หนึ่งต้นจะมีได้แค่ดอกทานตะวันดอกเดียว
2.2 โครงสร้างภายในลำต้นของต้นทานตะวัน
ภาพที่ 4 แสดงลักษณะโครงสร้างภายในลำต้นของต้นทานตะวัน
จากภาพที่ 4 โครงสร้างลักษณะภายในของลำต้นทานตะวัน
เมื่อนำลำต้นอ่อนของต้นทานตะวันมาตัดตามขวางแล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่ามีเนื้อเยื่อชั้นต่าง
ๆ อยู่เรียงตั้งแต่ชั้นนอกเข้าไปชั้นในได้ดังนี้
1. เอพิเดอร์มิส อยู่ด้านนอกสุดปกติมีอยู่เพียงแถวเดียวอาจเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์คุม
(Guard cell) ขน หรือหนาม ด้านนอกของ เอพิเดอร์มิส มีคิวทิน เคลือบอยู่
2. คอร์เทกซ์ ชั้น คอร์เทกซ์ ของลำต้นแคบกว่าของราก เซลล์ในชั้นคอร์เทกซ์
ส่วนใหญ่เป็นเซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma เป็นเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วย
Parencyma cell หมายความว่า
คำเดียวกันอาจใช้เป็นชนิดของเซลล์ หรือชนิดของเนื้อเยื่อก็ได้) เซลล์บริเวณด้านนอก
2-3 แถว ที่อยู่ติดกับ เอพิเดอร์มิส เป็นเซลล์คอลเลงคิมา
ที่ช่วยให้ลำต้นมีความแข็งแรงขึ้น และมีเนื้อเยื่อที่ สเกลอเรงคิมา แทรกอยู่ทั่ว ๆ
ไป ในระยะแรกที่ลำต้นยังอ่อนอยู่ พาเรงคิมา อาจมี คลอโรพลาสต์
ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง เรียกเซลล์นี้ว่า คลอเรงคิมา (Chlorenchyma) การแตกกิ่งของลำต้นแตกมาจากชั้น คอร์เทกซ์ ชั้นคอร์เทกซ์นี้สิ้นสุดที่
เอนโดเดอร์มิส ในลำต้นพืชส่วนใหญ่จะเห็น เอนโดเดอร์มิสได้ไม่ชัดเจนหรืออาจจะไม่มี
ต่างจากรากที่เห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อลำต้นเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น เซลล์ พาเรงคิมา
หรือ คอลเลงคิมาในชั้นคอร์เทกซ์ จะแปรสภาพเป็น คอร์กแคมเบียม (Cork cambium) ซึ่งจะแบ่งตัวตลอดเวลาให้ คอร์ก หรือ เฟลเลม (Phellem) ทางด้านนอก เซลล์เหล่านี้มีอายุสั้นมากและตายเร็วและมีสารพวก ซูเบอริน
หรือ ลิกนิน มาสะสม ทำให้ชั้น คอร์ก หนาขึ้นและดันเอพิเดอร์มิส ให้หลุดร่วงไป
3.ไซเล็ม (Xylem)
ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำขึ้นสู่ลำต้นไซเลมประกอบด้วยเวสเซล เทรคีด
เซลล์พาเรงคิมาและอาจมีไฟเบอร์ เวสเซลซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวเป็นเซลล์ที่"ไม่มีชีวิตต้นไม้ที่แก่แล้วไซเลมจะตายไปเวสเซลจะเป็นส่วนตรงกลางของลำต้นและเป็นส่วนแก่นไม้
4.โฟลเอมไฟเบอร์ (phloem fiber) มีลักษณะยาวมาก ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับโฟลเอม
โดยเฉพาะโฟลเอมที่มีบริเวณกว้าง
3. โครงสร้างภายนอกและภายในใบของต้นทานตะวัน
3.1 โครงสร้างภายนอกใบของต้นทานตะวัน
ภาพที่ 5 แสดงลักษณะโครงสร้างภายนอกใบของต้นทานตะวัน
จากภาพที่ 5 โครงสร้างลักษณะภายนอกใบของต้นทานตะวัน ต้นทานตะวันเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ (Dicot) ใบของทานตะวันประกอบด้วย แผ่นใบ (Blade) เส้นกลางใบ (Midrib) เส้นใบ (Vein) และเส้นใบย่อย (Veinlet)
ลักษณะการงอกของใบจะเป็นลักษณะแบบออกเป็นคู่ ที่เรียกว่า
Opposite ซึ่งแผ่นใบของทานตะวันจะมีรูปร่างลักษณะวงรีแหลม ที่เรียกว่า Oval
3.2 โครงสร้างลักษณะภายในใบของต้นทานตะวัน
ภาพที่ 6 แสดงลักษณะโครงสร้างภายในใบของต้นทานตะวัน
ภาพที่ 6 โครงสร้างลักษณะภายในใบของต้นทานตะวัน ที่ตัดตามขวางแล้วส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์
จะเห็นว่าลักษณะของเนื้อเยื่อและการเรียงตัวของเนื้อเยื่อจะเป็นชั้นๆ
ดังภาพที่ 6
ซึ่งประกอบด้วย
1.
เอพิเดอร์มิส (Epidermis) อยู่ชั้นนอกสุดประกอบด้วยเซลล์ผิว เซลล์คุม
ใบมีเอพิเดอร์มิสทั้งด้านบนและและด้านล่าง
โดยทั่วไปจะพบปากใบที่ผิวใบด้านล่างมากกว่าด้านบน
2.
สปองจีมีโซฟิลล์ (Songy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาจนถึงชั้นเอพิเดร์มิสด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างๆ
กัน ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่น
3.
แพลิเซดมีโซฟิลล์ (Palisade mesohphyll) อยู่ติดกับเอพิเดอร์มิสด้านบนประกอบด้วยเซลล์รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวตั้งฉากกับผิวใบ ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นมาก
4.
กลุ่มท่อลำเลียง (Vascular bundle) อยู่ตรงบริเวณที่เป็นเส้นกลางใบ
เส้นใบ และเส้นใบย่อย ประกอบด้วยไซเล็มและโฟลเอ็ม
Lower Stomata and Upper
Stomata
ภาพที่ 7 แสดงลักษณะโครงสร้างของ
Lower และ Upper
* Lower Stomata เป็นเซลล์ผิวที่อยู่ด้านล่างของเอพิเดอร์มิส
มีลักษณะการเรียงตัวของเซลล์ไม่เป็นระเบียบ
ซึ่งเป็นเซลล์ผิวที่มีเซลล์ปากใบมาก
เนื่องจากปากใบต้องการความชื่นตลอดเวลา
จึงมีปากใบอยู่ด้านล่างใบมากกว่าด้านบนเพื่อที่จะไม่โดนแดนและยังรักษาความชื่นได้ตลอดเวลาด้วย
* Upper
stomata เป็นเซลล์ผิที่อยู่ด้านบนของเอพิเดอร์มิส
มีลักษณะการเรียงตัวของเซลล์ไม่เป็นระเบียบ
ซึ่งเป็นเซลล์ผิวที่มีเซลล์ปากใบน้อยกว่าด้านล่าง เนื่องจากด้านบนได้รับแดนมากเกินไปจะทำให้เซลล์ปากใบขาดความชื่น
ปัจจัยที่มีผลต่อการปิดเปิดของปากใบ และการคายน้ำของปากใบ
1.
อุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น ความชื่นในอากาศลดลง น้ำจากระเหยออกจากปากใบมากขึ้น ถ้าอุณหภูมิสูงมากเกินไปรูปากใบจะปิด
เพราะพืชต้องการป้องกันการสูญเสียน้ำ
2.
ความชื่น
ถ้าความชื่นในอากาศลดน้อยลง
ปริมาณของน้ำในใบและในอากาศแตกต่างกันมากขึ้นจึงทำให้ระเหยออกทางรูปากใบมากขึ้นเกิดการคายน้ำมากขึ้น
3.
กระแสลม ลมที่พัดผ่านใบจะทำให้ความกดอากาศที่บริเวณผิวใบลดลง
น้ำบริเวณรูปากใบจะระเหยออกสู่อากาศได้มากขึ้น
4.
สภาพน้ำในดิน
เมื่อดินมีน้ำน้อยลงและพืชเริ่มขาดแคลนน้ำ
พืชจะสังเคราะห์กรดแอบไซซิก(abscisic) มีผลทำให้รูปากใบปิด การคายน้ำจึงลดลง
5.
ความเข้มของแสง เมื่อความเข้มข้นของแสงสูงขึ้น รูปากใบจะเปิดมากขึ้น และเมื่อความเข้มข้นของแสงลดลง รูปากใบจะเปิดน้อยลง
6.
แก็สคาร์บอนไดออกไซด์
โดยทั่วไปเมื่อพืชอยู่ในที่ที่มีแก็สคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปกติ จะทำให้รูปากใบเปิดได้แคบลง
โดยทั่วไปรูปากใบพืชจะเปิดในเวลากลางวันเพื่อนำแก็สคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงและปิดในเวลากลางคืน